ปัจจัย


ปัจจัย 3 ประการ ที่ทำให้บริษัทนำเที่ยวประสบความล้มเหลวในธุรกิจ

  • การวางแผนที่ไม่ถูกต้อง
  • ขาดการวางแผนการบริหารงาน
  • ขาดการวางแผนทางการเงิน


การวางแผนจึงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในธุรกิจการจัดนำเที่ยวแต่ละปี

  • การผลิตสินค้า ซึ่งได้แก่ โปรแกรมนำเที่ยวต่างๆ ที่บริษัทจัดทำขึ้นเพื่อขายให้แก่ลูกค้า
  • วิธีที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการจัดนำเที่ยว คือ ต้องมีการวางแผนที่ดี



เฟย์ (Fay, 1992 : 73-80) ได้อธิบายถึงขั้นตอนการวางแผน

   👉ขั้นตอนที่ 1 : วิเคราะห์สถานการณ์

วิเคราะห์สถานการณ์การจัดนำเที่ยวที่บริษัทนำเสนอขายต่อลูกค้า ตลอดจนวิเคราะห์ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลข้อดี ข้อเสีย ของการจัดนำเที่ยวในแต่ละปี
การพิจารณาสภาพพื้นฐานของลูกค้าโปรแกรมนำเที่ยว และราคา
รายการใดที่ลูกค้าให้ความสนใจมาก ปานกลาง น้อย แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงเหตุผลเพื่อพัฒนาการจัดนำเที่ยว

   👉 ขั้นตอนที่ 2 : วิเคราะห์บริษัทคู่แข่ง


รู้เขา รู้เรา”
วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งในการดำเนินงานของเรา ในส่วนที่คล้ายคลึงกับบริษัทอื่น เช่น จุดหมายปลายทางของการเดินทาง ช่วงเวลาของการจัด ราคาบริการท่องเที่ยว
ทำให้ได้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการวางยุทธศาสตร์การจัดนำเที่ยวได้ เช่น การแนะนำจุดหมายปลายทางใหม่ เทคนิคการจัดนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package tour) หรือการกำหนดราคาบริการท่องเที่ยว

👉ขั้นตอนที่ 3 : พิจารณาเพิ่มการขาย

นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ทั้ง 2 ขั้นตอน มาพิจารณาเพื่อปรับปรุงยอดการขาย ในแง่ของรายการนำเที่ยว จำนวนลูกค้า หรือเทคนิคการขาย
ส่วนช่วยให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นและการติดต่อกับธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องจะไมลำบากเหมือนช่วงฤดูการท่องเที่ยว วิธีที่ดีที่สุดคือการจัดการท่องเที่ยวในช่วงนอกฤดูกาลในราคาที่ถูก

👉ขั้นตอนที่ 4 : พิจารณาหาตลาดเป้าหมาย


ตลาดเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มที่ให้ความสนใจ
               
               

👉ขั้นตอนที่ 5 : พัฒนาแนวทางการติดต่อสื่อสาร


พัฒนาการติดต่อสื่อสาร ที่จะให้ไปถึงตลาดเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการพิจารณาหาตลาดใหม่

1. ประชาสัมพันธ์ : คำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณชน
2. เผยแพร่ : เป็นการบอกกล่าวผลผลิตของบริษัท โดยการพิมพ์เผยแพร่
3. โฆษณา : โฆษณาทางสื่อต่างๆ รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมหรือ นิทรรศการทางการท่องเที่ยว
4. ทางไปรษณีย์ : ติดต่อโดยตรงกับลูกค้าทางไปรษณีย์
5. ขายโดยตรง : เป็นการขายหน้าร้านหรือขายทางโทรศัพท์

การจัดทำแผนระยะสั้นและระยะยาว

  • การจัดทำแผนระยะยาว ควรจัดวางแผนในช่วง 5-10-20 ปี เป็นการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาบริษัทไปในทิศทางที่ต้องการ
  • การวางแผนระยะยาวนี้จะมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาโปรแกรมนำเที่ยว จะพิจารณาตามความสนใจของกลุ่มลูกค้า เป้าหมาย

การวางแผนระยะสั้น การวางแผนจัดนำเที่ยวในแต่ละปี

  •  ประเภทการจัดนำเที่ยว : บริษัทนำเที่ยวต้องมีนโยบายในการจัดนำเที่ยวว่า จะจัดนำเที่ยวประเภทใดบ้าง เช่น ประเภทรับนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศ หรือประเภทจัดนำเที่ยวให้นักท่องเที่ยวไทยเที่ยวภายในประเทศหรือเที่ยวต่างประเทศ
  •  ภูมิภาค/จุดหมายปลายทาง : มุ่งจัดภูมิภาค ยุโรป เอเซีย หรืออเมริกา เป็นต้น โดยเน้นหนักประเทศใดบ้าง ถ้าเป็นภายในประเทศมุ่งเน้นภาคหรือจังหวัดใดบ้าง
  • วัตถุประสงค์ : ในการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้งควรจะวางวัตถุประสงค์ของการจัดแต่ละครั้งว่ามีจุดมุ่งหมายที่จะให้นักท่องเที่ยวได้อะไรบ้าง
  • ช่วงเวลาของการจัด : ในการจัดนำเที่ยวจะจัดกี่ครั้งในช่วงใดบ้าง ใช้ระยะเวลากี่วัน ต้องพิจารณาช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ของสถานที่ที่จะไป ประกอบกับเวลาว่างของนักท่องเที่ยว
  • ความคาดหวังของลูกค้า : ลูกค้าหวังจะได้รับบริการที่ต้องการ
  • ลูกค้าเป้าหมาย : พิจารณาถึงบุคคลที่สามารถท่องเที่ยวได้เป็นบุคคลใด
  • กิจกรรม : จะจัดกิจกรรมเช่นไรให้สอดคล้องกับความสนใจของลูกค้า
  • ปริมาณการจัดนำเที่ยว : วางแผนกกำหนดจำนวนโปรแกรมนำเที่ยวที่จะจัดแต่ละปี โดยแยกตามประเภทต่างๆ
  •  แมนซินี (Mancini, 1990 : 198)


  • ก่อนจะวางแผนจัดนำเที่ยว ควรจะมีการสำรวจความคิดเห็นของลูกค้า โดยส่งแบบสอบถามให้ตอบก่อนสิ้นสุดการเดินทางแต่ละครั้ง

การวางแผนจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง จะต้องคำนึงถึง

  • การกำหนดวัน ต้องคำนึงถึงระยะทาง จำนวนสถานที่ท่องเที่ยวลูกค้าเป้าหมาย
  • ลูกค้าเป้าหมาย ถ้าลูกค้าอายุมากควรจัดการท่องเที่ยวระยะสั้น รายการไม่แน่น
  • ระยะทางเป็นสิ่งสำคัญ
  • ความบันเทิง
  • การซื้อของ
  • ทำเลที่ตั้งของโรงแรม
  • จุดแวะพัก ในต่างประเทศจะมีการจำกัดเวลาในการขับรถให้อยู่ในช่วงหนึ่ง
  • ร้านอาหาร
  • การคิดราคา ต้องคำนึงถึงอัตราการแลกเปลี่ยนเงิน


ข้อมูลเกี่ยวกับจุดหมายปลายทาง

องค์ประกอบ การสำรวจเส้นทางและการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว

คุณสมบัติและจรรยาบรรณของผู้วางแผนจัดรายการนำเที่ยว

  • ความซื่อสัตย์ ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสถานประกอบการ
  • วางตัวเป็นกลาง
  • มีความสามรถเรียนรู้ประเภทของลูกค้าและAgent ต่างๆ
  • จัดงานตามความสามารถของมัคคุเทศก์
  • ไม่วิจารณ์การทำงานของมัคคุเทศก์ให้อีกคนหนึ่งฟัง
  • สามารถประสานงานได้ดี
  • จัดทัวร์ตามรายการไม่ตัดทอน เปลี่ยนแปลงจากข้อตกลง
  • ไม่จัดทัวร์ผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรม
  • มีสามัญสำนึก
  • มีความอดทนเสียสละ
  • มีความสามารถในการเลือกสินค้าบริการที่หลากหลายมานำเสนอลูกค้า

ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยกับการทำงานของผู้วางแผน

  • ฝ่ายบริหารให้ความไว้วางใจ เกรงใจ Tour Operation มากเกินไป
  • Tour Operation เรียกร้องสถานประกอบการณ์
  • Tour Operation ขโมยงานบริษัทไปทำเองเพื่อหาผลประโยชน์
  • ทำงานแบบมักง่าย ไม่รับผิดชอบ ไม่ตามงาน
  • Inbound มักให้ Tour Leader เป็นไกด์

การแก้ปัญหา

  • จัดให้มี Tour Operation มากกว่า   1 คน
  • จัดให้มีการตรวจสอบที่ชัดเจนกว่าเดิม
  • สับเปลี่ยนหมุนเวียนพนักงานมาทำงานแทนกันโดยไม่ให้เสียงาน
  • ผู้บริหารงานดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น
  • ผู้บริหารงานเป็น Tour Operationเองเลย

การสำรวจเส้นทาง 3 ลักษณะ

  • การสำรวจเส้นทางเดิม
  • การสำรวจเส้นทางใหม่
  • การสำรวจเส้นทางเพื่อเป็นตัวแทนขาย

การสำรวจเส้นทางเพื่อการจัดนำเที่ยว


  • การสำรวจเส้นทาง คือ การที่ผู้มีหน้าที่จัดนำเที่ยว หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดนำเที่ยวต้องเดินทางไปยังเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวที่คิดว่าจะนำมาจัดเป็นรายการนำเที่ยว


ข้อดีของการได้สำรวจเส้นทางก่อนการจัดนำเที่ยว

  • สามารถป้องกันและประหยัดค่าใช้จ่ายที่อาจเสียไปจาการไม่รู้ ไม่ชำนาญพื้นที่
  • ได้ข้อมูลสภาพที่เป็นปัจจุบัน
  • ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในการจัดนำเที่ยว เกิดความเกรงใจมากกว่า เพราะได้เจอผู้ใช้บริการตัวจริง การต่อรองดีกว่าทางโทรศัพท์

ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น

  • บริษัทสิ้นเปลืองงบประมาณมากขึ้น
  • การสำรวจเส้นทางไม่เกิดประโยชน์สูงสุดถ้าผู้บริหารหรือเจ้าของไม่ได้ไปสำรวจด้วยตนเอง



รูปแบบของการจัดรายการท่องเที่ยว

การจัดรายการนำเที่ยวประมาณ 2-4 วัน  ใช้ระยะทางจากที่พักไปแหล่งท่องเที่ยว ไม่ควรเกิน 100 กม.

การจัดรายการนำเที่ยวที่เปลี่ยนที่พักทุกวัน

การจัดรายการคล้ายแบบที่ 2 แต่สถานที่ออกเดินทางไปและกลับแตกต่างกัน ไม่ใช้เส้นทางเดียวกัน ราคาแพงที่สุด


การทำรายการนำเที่ยว  และการคิดราคา

  • DOMESTIC
  • INBOUND
  • OUTBOUND

ผู้มาเยือน และนักท่องเที่ยว

ผู้มาเยือน (Visitor) หมายถึง ผู้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ ทั้งพักแรมค้างคืน และไม่พักแรมค้างคืน ได้แก่


  • นักท่องเที่ยว (Tourist) ผู้เดินทางมาเยือนประเทศไทยโดยพักค้างแรมอย่างน้อย 1คืน หรือเกินกว่า 24 ชั่วโมง แต่พักอาศัยอยู่ไม่เกิน 90 วัน จุดประสงค์เพื่อการพักผ่อนทัศนะศึกษา ร่วมแข่งขันกีฬา หรือฟื้นฟูสุขภาพ เป็นต้น
  • นักท่องเที่ยวที่ไม่ค้างคืน (Excursionist) หมายถึง ผู้เดินทางมาเยือนชั่วคราว โดยไม่ได้พักแรมค้างคืนหรืออยู่ไม่ถึง 24 ชั่วโมง


ผู้มาเยือน และนักท่องเที่ยว

ผู้มาเยือน (Visitor) หมายถึง ผู้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ ทั้งพักแรมค้าง คืน และไม่พักแรมค้างคืน ได้แก่


  • นักท่องเที่ยว (Tourist) ผู้เดินทางมาเยือนประเทศไทยโดยพักค้างแรมอย่างน้อย      1 คืน หรือเกินกว่า 24 ชั่วโมง แต่พักอาศัยอยู่ไม่เกิน 90 วัน จุดประสงค์เพื่อการ      พักผ่อน ทัศนะศึกษา ร่วมแข่งขันกีฬา หรือฟื้นฟูสุขภาพ เป็นต้น
  • นักท่องเที่ยวที่ไม่ค้างคืน (Excursionist) หมายถึง ผู้เดินทางมาเยือนชั่วคราว          โดยไม่ได้พักแรมค้างคืนหรืออยู่ไม่ถึง 24 ชั่วโมง


พาหนะในการเดินทาง


ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญ 4 ด้านคือ

  • ระยะทาง ระยะเวลา ของการเดินทาง
  • จำนวนคนในกลุ่มเดินทาง
  • เส้นทางหรือโปรแกรมการท่องเที่ยว
  • งบประมาณ

การจัดเตรียมเส้นทางท่องเที่ยว

กำหนดเส้นทางที่จะจัดนำเที่ยว

  • สำรวจเส้นทางและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ระยะทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นถึงปลายทาง ระยะเวลาในการเดินทาง ความยากง่ายของการเดินทาง และสภาพของเส้นทาง จุดท่องเที่ยว จุดหยุดพัก จุดพักรับประทานอาหาร จุดพักแรม สภาพของร้านอาหารและที่พักแรม มาตรฐานการบริการ ศักยภาพในการบริการ และคุณภาพการบริการ เป็นต้น สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  ณ จุดหยุดแวะ เช่น ห้องน้ำ ร้านขายของที่ระลึก และสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ข้อมูลทางการวิชาการของแหล่งท่องเที่ยวในเส้นทางเพื่อนำมาบรรยายในการนำชม  พาหนะที่ควรใช้ในการเดินท
  • กำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยวสำหรับรายการ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสำรวจ เช่น แวะซื้อผลไม้ตามฤดูกาลระหว่างทางที่ผ่าน แวะชมและซื้อสินค้าหัตถกรรมชาวบ้าน แวะนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น ขี่ช้าง ล่องแพ เป็นต้น
  • อุปกรณ์สำคัญในการเตรียมเส้นทางนำเที่ยว เช่น แผนที่ชนิดต่าง ๆ ทั้งแผนที่ภูมิศาสตร์ แผนที่จังหวัด แผนที่เมือง แผนที่ทางหลวง เป็นต้น




การเตรียมการนำเที่ยว


ต้องนำข้อมูลในการสำรวจมาวิเคราะห์และดำเนินการดังนี้

  • ระยะเวลาการท่องเที่ยวตามเส้นทาง เช่น 2 วัน 1 คืน เป็นต้น
  • กิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น ชมแหล่งท่องเที่ยว ซื้อสินค้า ชมการแสดง พักผ่อนตามอัธยาศัย เป็นต้น
  • สถานที่รับประทานอาหาร สถานที่พักแรม ตลอดจนสถานบริการต่าง ๆ
  • พาหนะที่ใช้ในการเดินทางและการท่องเที่ยว เช่น เครื่องบิน-รถโค้ช, รถโค้ช-เรือ, รถไฟ-รถโค้ช, รถโค้ช-แพ, รถไฟ-แพ, แพ-ช้าง เป็นต้น
  • ราคาค่าใช้จ่ายตลอดรายการ ซึ่งประกอบด้วย ค่าพาหนะ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าบริการนำเที่ยว ค่ามัคคุเทศก์ ค่าบริการแหล่งท่องเที่ยว เช่น ค่าผ่านประตู ค่าเข้าชมการแสดง เป็นต้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตั้งแต่การเตรียมการ การประชาสัมพันธ์ จนเสร็จสิ้นรายการนำเที่ยว บวกผลกำไรและภาษี จะได้ราคาเสนอขาย (Selling Price) ของรายการนำเที่ยว
  • เงื่อนไขของค่าใช้จ่ายตามรายการ โดยทั่วไปทัวร์เหมาจ่าย (Package Tour) มักไม่รวมค่าอาหารบางมื้อที่ไม่ปรากฏอยู่ในกำหนดการ ค่าภาษีสนามบิน ค่าภาษีเดินทาง ค่าบริการซักรีดเสื้อผ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าอาหารหรือเครื่องดื่มที่นักท่องเที่ยวสั่งพิเศษนอกรายการ เงื่อนไขเหล่านี้ต้องกำหนดไว้ในกำหนดการให้นักท่องเที่ยวทราบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น